วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ลิ้นจี่

ผลไม้ไทย
ลิ้นจี่ ( Lychee )
ลักษณ/พันธุ์

ลิ้นจี่พบในประเทศไทยมี 2 สายพันธุ์โดยแบ่งตามพื้นที่การปลูก ดังนี้
1. กลุ่มพันธุ์ที่ปลูกทางภาคเหนือ เป็นพันธุ์ที่ต้องการความหนาวเย็นมากและยาวนานก่อนการออกดอกมากกว่าพันธุ์ที่ปลูกทางภาคกลาง ได้แก่ ฮงฮวย จักรพรรดิ กิมเจง โอวเฮียะ กวางเจา บริวสเตอร์ และกิมจี๊ เป็นต้น
2. กลุ่มพันธุ์ที่ปลูกในภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกส่วนใหญ่ต้องการความหนาวเย็นไม่มากและหนาวเย็นไม่นานก็สามารถออกดอกได้ ปลูกในที่ราบต่ำแถวอำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ได้แก่ พันธุ์ค่อม (ค่อมลำเจียก) กะโหลกใบยาว สำเภาแก้ว กระโถนท้องพระโรง เขียวหวาน สาแหรกทอง จีน ไทยธรรมดา ไทยใหญ่ กะโหลกใบไหม้ กะโหลกในเตา ช่อระกำ และพันธุ์ทิพย์ เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการ

ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ช่วยย่อยอาหาร บำรุงอวัยวะภายในต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นม้ามหรือระบบประสาท นอกจากนี้ ลิ้นจี่ยังช่วยในการบรรเทาอาการกระหายน้ำได้ และหากนำเนื้อลิ้นจี่ตากแห้งมาต้มรับประทานเป็นประจำก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดอันเนื่องมาจากโรคไส้เลื่อนหรือลูกอัณฑะบวม และยังช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้อีกด้วย สำหรับผู้มีอาการของท้องร่วงเรื้อรังให้นำเนื้อลิ้นจี่มาต้มรวมกับเนื้อพุทราแล้วนำมากินกับน้ำจะช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงเรื้อรังได้เป็นอย่างดี
การนำไปใช้ประโยชน์

ลิ้นจี่ นอกจากจะใช้รับประทานสดได้แล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อีกได้หลายชนิด เช่น ลิ้นจี่กระป๋องหรือบรรจุขวดในน้ำเชื่อม เนื้อลิ้นจี่อบแห้ง น้ำลิ้นจี่พร้อมดื่ม ฯลฯ ที่ได้รับความนิยมมากพอสมควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น